เกี่ยวกับศูนย์วิจัยและนวัตกรรม

ตัวชี้วัด

 


ผลงานวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาลและด้านสุขภาพจากการบูรณาการศาสตร์ที่เกี่ยวข้องนำ ไปสู่การพัฒนาคุณภาพบริการด้านสุขภาพ
  • ผลงานการวิจัยและนวัตกรรมสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการศึกษา การบริหารการพยาบาล หรือ นโยบาย
  • ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ

 

จุดแข็ง


  • ผู้บริหารและคณาจารย์มีความสามารถในการบริหารหลักสูตรที่ได้รับด้านวิชาการในระดับชาติและนานาชาติ
  • ผู้บริหารสถาบันและผู้บริหารระดับคณะ มีเครือข่ายและพันธมิตรในระดับชาติและนานาชาติทั้ง ภาครัฐและเอกชน
  • คณะพยาบาลศาสตร์มีคณาจารย์ที่มีความเชียวชาญและประสบการณ์ด้านการดูแลผู้สูงอายุและการพัฒนาศัยกภาพของชุมชน
  • คณะวิชาการต่างๆ ในสถาบันมีการบูรณาการความร่วมมือกันทางด้านศาสตร์ต่างๆตามความเชียวชาญเพื่อนวัตกรรมร่วมกัน

โอกาสเชิงกลยุทธ์


  • SOp1  การสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมด้านบริการและสุขภาพ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดได้
  • SOp2  การพัฒนาการวิจัยและนวัตกรรมและบริการด้านการจัดการสุขภาวะ (Wellness Management) และด้านนวัตกรรมเพื่อให้การดูแลผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพและผสมผสานเอกลักษณ์ วัฒนธรรมไทย
  • SOp3  การสร้างโครงการบริการงานวิชาการและหลักสูตรใหม่ๆที่สนองต่อความต้องการของสังคม
  • SOP4  การพัฒนาสู่ความเป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลชั้นนำที่ความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการ การเรียน การสอน การวิจัย และบริการวิชาการ

     

คณะกรรมการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะพยาบาลศาสตร์

บทบาทหน้าที่กรรมการพัฒนาวิจัยและนวัตกรรม


  • กำหนดแนวทางการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายและวิสัยทัศน์ของสถาบันฯ
  • พัฒนาระบบและกลไกในการขับเคลื่อนพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของคณะฯ
  • จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติงานเพื่อพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของคณะฯ
  • ประสานงานรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุน งานวิจัยและนวัตกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรรับทราบรวมทั้งการให้ข้อมูลการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยจากสถาบัน
  • ประสานการดำเนินงานในการหาแหล่งทุน เพื่อสนับสนุนการวิจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อให้งานวิจัยและนวัตกรรมบรรลุเป้าหมาย  (กลั่นกรองงานวิจัย นโยบายของสถาบัน ทุนวิจัยภายใน แสวงหาแหล่งให้ทุนวิจัย  ทุนวิจัยภายนอก )
  • ประสานงานร่วมมือและสร้างเครือข่ายการวิจัยและนวัตกรรม ทั้งภายในและภายนอกประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน
  • พัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรได้ทำวิจัยอย่างทั่วถึง ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน
  • สนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรม งานวิชาการอื่นๆ หลากหลายรูปแบบ
  • กำกับ ติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ ตลอดจน ให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาแก่นักวิจัย
  • ประเมินผลการดำเนินงานวิจัยและนวัตกรรม และนำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขต่อไป