การจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

บทบาทหน้าที่คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

“ปกป้อง คุ้มครอง ศักดิ์ศรี สิทธิ ความปลอดภัย และสวัสดิภาพของผู้เข้าร่วม หรือจะเข้าร่วมโครงการวิจัยทุกคน”

  1. พิจารณาให้การรับรอง หรือไม่รับรองโครงการวิจัย หรือให้มีการปรับปรุงแก้ไขก่อนให้การรับรอง รวมทั้งให้มีพักการวิจัยชั่วคราวหรือยุติการรับรองโครงการวิจัยในกรณีที่งานวิจัยไม่เป็นไปตามแนวทางจริยธรรมในมนุษย์
  2. กำหนดให้ส่งรายงานความก้าวหน้า และพิจารณาตรวจเยี่ยม ติดตามความก้าวหน้าโครงการวิจัยที่ได้รับรองให้ผ่านจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์แล้ว
  3. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยแก่หน่วยงานคณะกรรมการจริยธรรมระดับคณะ และบุคลากรด้านการวิจัยของสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และมีหน้าที่หลักในการปกป้องสิทธิและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้เข้าร่วมโครงการวิจัย
  4. กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวกับการพิจาณราโครงการวิจัยในมนุษย์
  5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยผ่านการอนุมัติจากอธิการบดี
  6. หน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องตามที่สภาสถาบันฯ มอบหมาย

การจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์  https://rec.pim.ac.th/wp/