

“INFECTION CONTROL UPDATE รู้เท่าทันความก้าวหน้าของการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล
” เพื่อส่งเสริมความรู้และแนวทางการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
นพ.กำธร มาลาธรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. อะเคื้อ อุณหเลขกะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ วิลาวัณย์ เสนารัตน์ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ อาจารย์ สุวัฒน์ สุขสวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสุขภาพ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ แนวปฏิบัติที่ทันสมัย และการพัฒนาทักษะวิชาชีพเพื่อรับมือกับความท้าทายด้านการควบคุมโรคติดเชื้อในยุคปัจจุบัน ซึ่งบุคลากรทางการพยาบาล อาจารย์ และผู้สนใจด้านสุขภาพเข้าร่วมฟังกว่า 150 ท่าน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom ระหว่างวันที่ 8–9 พฤษภาคม 2568

ส่วนวิทยาศาสตร์สุขภาพ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เป็นประธานจัดงานกล่าวว่า “การลดการติดเชื้อในสถานพยาบาลเป็นประเด็นสำคัญที่บุคลากรทางการพยาบาลมีบทบาทอย่างยิ่งในการทำงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพ ภายใต้มาตรฐานการดูแลในระดับสากล เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการและความปลอดภัยของผู้รับบริการ วันนี้นับเป็นโอกาสอันดีเพื่ออัปเดตองค์ความรู้และการเปลี่ยนแปลงในด้านการควบคุมการติดเชื้อ ซึ่งชีวาสุขวิทยาลัย คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ต้อนรับทุกท่าน และขอขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านที่กรุณาแบ่งปันความรู้และประสบการณ์อันทรงคุณค่า ตลอดจนพยาบาลวิชาชีพทุกท่านที่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าทุกท่านสามารถเรียนรู้ต่อเนื่องและนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
ทางด้าน รองศาสตราจารย์ ดร. อัจฉรา สุคนธสรรพ์ คณบดี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า “เป็นที่ทราบกันดีว่าปัญหาการติดเชื้อในโรงพยาบาลยังคงส่งผลกระทบทั้งต่อหลายภาคส่วน เช่น ผู้รับบริการ บุคลากรทางการแพทย์ สังคม และระบบสาธารณสุขของประเทศ โดยเฉพาะในปัจจุบันที่สถานการณ์มีความซับซ้อนและรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับความรู้ที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ในการประชุมครั้งนี้ทุกท่านจะได้รับองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับแนวทางการเฝ้าระวังการแพร่กระจายเชื้อ การสร้างความตระหนักรู้ การยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตลอดจนการควบคุมการติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งล้วนเป็นความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในบริบทการทำงานจริง และขอขอบพระคุณวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้แลกเปลี่ยนและแบ่งปันองค์ความรู้ เพื่อไปต่อยอดและยกระดับการจัดการปัญหาการติดเชื้อในสถานพยาบาลได้อย่างยั่งยืน” ทั้งนี้การประชุมมีเป้าหมายให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจการติดเชื้อเกิดในโรงพยาบาลยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเรียนรู้หลักการแบบองค์รวม การเฝ้าระวังอย่างมีประสิทธิภาพ แนวทางปฏิบัติจริง การทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่น รวมถึงการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนนับวันยิ่งทวีความรุนแรงโดยเผยแพร่จากผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้า การประชุมนี้จึงไม่ได้เป็นแค่เวทีให้ความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นพื้นที่พัฒนาศักยภาพ และยกระดับการทำงานในสายวิชาชีพพยาบาลและสาธารณสุขให้สามารถรับมือกับความท้าทายด้านการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงการยกระดับมาตรฐานการดูแลผู้รับบริการ แต่ยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมในระยะยาว สำหรับการประชุมวิชาการทางการพยาบาลประจำปี


เกี่ยวกับพีไอเอ็ม
- ประวัติความเป็นมา
- วิสัยทัศน์
- พันธกิจ
- วัตถุประสงค์
- ค่านิยมองค์กรและวัฒนธรรมองค์กร
- แผนการดำเนินงาน
- การรับรองหลักสูตร
- คณาจารย์และสายสนับสนุน
- งานวิจัยของคณะ
- การบริการวิชาการ
- การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
- เครือข่ายความร่วมมมือ (MOU)
- ห้องปฏิบัติการทางการพยาบาล
- เครื่องแบบนักศึกษา
- สถานที่เรียนและหอพักนักศึกษา
- ข่าวสารคณะ
- สายตรงคณบดี