โครงการนี้มุ่งสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเพื่อให้มีผู้สูงอายุที่สุขภาพดียังคงสามารถดำรงชีวิตได้โดยไม่มีภาวะพึ่งพิง และส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดี ด้วยกิจกรรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุแบบองค์รวมสำหรับผู้สูงอายุในตำบลพลูตาหลวง อำเภอสัตหีบ และมีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการแก่สังคม การวิจัยและศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้กระบวนการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ผลการประเมินโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอน (วิชาการสร้างเสริมสุขภาพฯ) กับการบริการวิชาการและการทำนุศิลปะและวัฒนธรรม โดยอาจารย์และนักศึกษาหลักสูตร 2.5 ปี ในชมรมผู้สูงอายุ ตำบลพลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
- นักศึกษาเกิดความตระหนักในคุณค่าหรือเห็นความสำคัญหรือได้รับประโยชน์กับด้านการส่งเสริม ทำนุบำรุง สืบสานวัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงาม ในแง่มุมใดบ้าง
1.1 การปฏิสัมพันธ์กับประชาชนทั่วไปเป็นเรื่องง่าย
1.2 ด้านการสามัคคีในกลุ่มผู้อายุ การบอกเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ที่ประทับในอดีตจากกลุ่มผู้อายุ
1.3 ได้รักษาประเพณีพื้นบ้านไว้ให้เด็กรุ่นหลังได้สืบทอด
1.4 ได้ช่วยเหลือผู้สูงอายุ
1.5 ส่งเสริมการมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างนักศึกษาและคนในชุมชน
1.6 การเอาใจใส่ การให้ความสำคัญผู้สูงอายุ
1.7 ทำนุบำรุงวัฒนธรรมของผู้สูงอายุ
1.8 การได้ทำกิจกรรมกับผู้สูงอายุทำให้เราได้ใกล้ชิดกับผู้สูงอายุมากขึ้น เข้าใจซึ่งกันและกัน ทำให้ส่งเสริมความรู้และความสัมพันธ์ที่ดีลดช่องว่างระหว่างวัยมากขึ้น
1.9 ได้ทุกแง่ รู้สึกว่าโครงการโอเคอยู่
1.10 เป็นวัฒนธรรมที่ดีในการส่งเสริมและสร้างกำลังใจให้ผู้สูงอายุ
1.11 ตระหนักถึงว่าวัฒนธรรมที่ดีงามเป็นสิ่งที่ควรสืบสานกันต่อไปเรื่อยๆเพราะวัฒนธรรมสามารถสร้างความสามัคคี สร้างสังคมให้ดีงาม
1.12.การสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน, การเรียนรู้จากภูมิปัญญาไทย, การพัฒนาคุณภาพชีวิต
1.13 ได้แลกเปลี่ยนข้อมมูลท้องถิ่นกับผู้เข้าร่วมโครงการรับรู้ถึงวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นในแง่มุมของการรับประทานอาหารท้องถิ่นของชุมชนภูตาหลวง
1.14 การประยุกต์ใช้ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น การบริโภคอาหารพื้นถิ่น ในการดูแล และส่งเสริมสุขภาพ เพื่อมองเห็นถึงปัญหาด้านสุขภาพ และการปรับใช้การแก้ปัญหาด้านสุขภาพให้เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่
1.15 การดำรงชีวิตประจำวัน
1.16 การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ที่มีรากฐานจากความรู้และภูมิปัญญาเก่าแก่ การเสริมสร้างความสามัคคีในสังคม การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและความสามัคคีในชุมชน
1.17 การเป็นอยู่ การรับประทานอาหารของคนในพื้นที่ ความเชื่อและสิ่งที่เคราพนับถือ ความเข้มแข็งและความร่วมมือของชมรม
1.18 อย่างที่หมู่บ้านท้องถิ่นของดิฉัน ก็จะมีเวทีแสดงดนตรี ในงานบุญ เทศกาลต่างๆกิจกรรมชิงเปรต มีการจัดแข่งกีฬา ของเยาวชนและคนในชุมชน สรุปก็คือ ดึงคนรุ่นใหม่เข้ามา โดยใช้สิ่งที่เขาสนใจ แล้วเขารู้สึกภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณี
1.19 สามารถนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ได้
1.20 แง่ของการเป็นผู้นำและผู้ตาม และรับฟังความคิดเห็น
1.21 เป็นสิ่งก่อให้เกิดความรู้สึก ความสามัคคี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในท้องถิ่น
1.22 ได้ทำกิจกรรมร่วมกันของผู้สูงอายุ ช่วยให้คลายความเครียดของผู้สูงอายุได้
1.23 การเข้าสังคม ทำให้สังคมน่าอยู่
1.24 ด้านการเคารพผู้สูงอายุ
1.25 หลากหลายมุม
1.26 นักศึกษาเกิดความตระหนักในคุณค่าหรือเห็นความสำคัญของการส่งเสริม ทำนุบำรุง สืบสานวัฒนธรรม และประเพณีที่ดีงามในแง่มุมต่างๆ เช่น: การสร้างความสัมพันธ์ในชุมชน: การร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและประเพณีช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชนและส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน การเรียนรู้จากภูมิปัญญาไทย: การศึกษาศิลปวัฒนธรรมช่วยให้นักศึกษาเข้าใจและเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การแพทย์พื้นบ้าน การใช้สมุนไพร การอนุรักษ์และส่งต่อวัฒนธรรม: การเข้าร่วมกิจกรรมทำให้เห็นความสำคัญของการรักษาวัฒนธรรมและประเพณีให้คงอยู่เพื่อส่งต่อให้กับรุ่นหลัง การพัฒนาคุณภาพชีวิต