โครงการคลินิกใต้ถุนบ้านสู่ชุมชนจัดการตนเองด้านสุขภาพ

โครงการ จากคลินิกใต้ถุนบ้านสู่ชุมชนจัดการตนเองด้านสุขภาพ
เป็นโครงการสืบเนื่องจากในปีการศึกษา 2565 ที่ผ่านมา
คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
ได้ดำเนินโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนภายใต้โครงการคลินิกใต้ถุนบ้าน
เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนประชาชนในหมู่ 6 และ 7
ของตำบลเขาชีจรรย์ ชุมชนใกล้เคียงกับสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์
โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ติดบ้านติดเตียงและให้ความรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่
การดำเนินการนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำท้องถิ่นเป็นอย่างดี
ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากพื้นที่ในสถานการณ์จริง
ส่งผลดีต่อการผลิตบัณฑิตของคณะพยาบาลศาสตร์
และขณะเดียวกันก็เป็นการบูรณาการทั้งการเรียนการสอน
การวิจัยและบริการวิชาการเข้าด้วยกันอีกด้วย ที่ผ่านมานักศึกษาให้ความสนใจ
เข้าร่วมในโครงการจำนวนมากคณะกรรมการบริการวิชาการมีความเห็นร่วมกันว่า
ควรขยายการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
และสาขาการพยาบาลและการวิจัยและทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม ประกอบกับชุมชนสนใจในการพัฒนา
ด้านสุขภาพของประชาชนสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี จึงเกิดการพัฒนาต่อยอดจากโครงการคลินิกใต้ถุนบ้าน
สู่ชุมชนจัดการตนเอง การพัฒนาชุมชนให้สามารถจัดการตนเองด้านสุขภาพเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน
แต่ต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเอง
การดำเนินการจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเริ่มจากการศึกษาสถานการณ์ของชุมชนรวมถึงปัญหาสุขภาพ
และทุนทางสังคมในด้านต่างๆ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ชุมชน
การวางแผนดำเนินการสู่เป้าหมาย กระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนจึงต้องดำเนินการโดยชุมชน
และเพื่อชุมชน และจะเป็นพื้นที่เรียนรู้แก่นักศึกษาและผู้สนใจมาเรียนรู้และนำไปขยายผลต่อไป
โครงการคลินิกใต้ถุนบ้านจะเป็นหนึ่งในอีกหลายโครงการที่จะเกิดขึ้น
ในอนาคตอันใกล้เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีต่อไป
     การดำเนินกิจกรรมด้านประเมินสถานการณ์ปัญหาภาวะสุขภาพและ
ทุนทางสังคมของชุมชนในหมู่ 6 และ 7เขตเทศบาลเขาชีจรรย์ ทำการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคเรื้อรัง และให้ข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพ
การปฏิบัติตัวเพื่อนำสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
ติดตามเยี่ยมดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังและผู้ป่วยติดเตียงและทำกิจกรรม
กระบวนการพัฒนาสสุขภาพชุมชน จากการบูรณาการการเรียน
การสอนร่วมกับบริการวิชาการ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตร 2.5 ปี
ได้รับประสบการณ์การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงนอกหลักสูตรและมี
ทักษะปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นและมีส่วนร่วมในกระบวนการ
พัฒนาชุมชนจัดการตนเองด้านสุขภาพ